สวยป่ะ
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
น้ำมะม่วงป่านนนนนนน

น้ำมะม่วงพร้อมดื่ม
ส่วนผสม
1.เนื้อมะม่วง 2 กิโลกรัม
2.น้ำตาลทราย 900 กรัม
3.เกลือ 25 กรัม
4.กรดมะนาว 18 กรัม
5.น้ำ 7 ลิตร
วิธีทำ
1.เลือกมะม่วงสุกจัด นำมาล้างให้สะอาด
2.ปอกเปลือกมะม่วงออก ฝานเอาแต่เนื้อใส่ภาชนะไว้
3.ปั่นเนื้อมะม่วงให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน
4.ต้มเนื้อมะม่วงกับน้ำให้เดือด
5.เติมน้ำตาลทราย เกลือ กรดซิตริก คนให้เข้ากัน
6.บรรจุขณะร้อนในขวดที่ลวกฆ่าเชื้อแล้ว เว้นช่องว่างไว้เหนือน้ำมะม่วง 1 นิ้ว ปิดจุกทันทีให้แน่น
7.นำไปต้มฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที
8.นำขวดที่บรรจุน้ำมะม่วงไปแช่เย็น พร้อมที่จะดื่มได้ ควรเขย่าขวดก่อนดื่ม
การแปรรูปมะม่วง มะม่วงดอง
มะม่วงดองเค็ม
ส่วนผสม1. เกลือ 100 กรัม
2. น้ำสะอาด 900 มิลลิลิตร
3. มะม่วงแก้ว ผลแก่เนื้อแข็ง
วิธีทำ1.นำมะม่วงแก้ว ผลแก่มาคัดผลคุณภาพ ล้างทำความสะอาดผล
2.เตรียมน้ำเกลือ อัตราส่วน น้ำ 900 มิลลิลิตร : เกลือ 100 กรัม ละลายเกลือในน้ำอุ่น ทิ้งไว้ให้เย็น
3.นำมะม่วงเรียงใส่ภาชนะ เติมน้ำเกลือให้ท่วม
4.นำถุงใส่น้ำหรือไม้ไผ่สานขัดด้านบน ป้องกันมะม่วงลอยบนผิวน้ำ
5.ปิดปากภาชนะดองให้สนิท เก็บในที่ร่ม อากาศถ่ายเท
** สามารถเก็บไว้นาน 1 ปี หากจะนำมาแช่อิ่มควรใช้มะม่วงดองเค็มอย่างน้อย 3 สัปดาห์

การใช้ประโยชน์ จากมะม่วง
ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น[5] แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ
- นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย
- นิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้ นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในน้ำพริก ยำ
- นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยวหรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงกวนและอื่นๆ เช่น มะม่วงแก้ว พิมเสนเปรี้ยว
นอกจากการนำมาเป็นอาหารแล้ว มะม่วงมีประโยชน์ด้านอื่นอีก ดังนี้
- เนื้อไม้นำมาทำเฟอร์นิเจอร์
- ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน มาประกอบอาหารแทนผัก
- ใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
- ชาวกะเหรี่ยงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นำเปลือกต้นมะม่วงไปย้อมผ้า ให้สีเขียว
พันธ์มะม่วง
มะม่วงมีพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ อกร่อง ตัวอย่าง เช่น
- เขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกหนา เหนียว ผลแก่รสมัน
- น้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์ที่กินผลสุก รูปร่างยาวเรียว ผลดิบเนื้อขาว รสเปรี้ยวจัด ผลสุกสีเหลืองนวล รสหวาน
- อกร่องทอง เป็นพันธุ์เก่าแก่ นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน ผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวที่ด้านท้อง ผลสุก เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย
- ฟ้าลั่น ผลกลม ท้ายแหลม ลูกขนาดกลาง นิยมรับประทานผลแก่ มีรสมัน เมื่อปอกเปลือก เนื้อมะม่วงจะปริแตก
- หนังกลางวัน ผลยาวคล้ายงาช้าง แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว สุกรสหวาน
- แก้ว นิยมกินดิบ ผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว เมื่อเกือบสุกเปลือกจะมีสีอมส้มหรืออมแดง
- โชคอนันต์ รูปร่างยาว ปลายมน กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า นิยมนำไปทำมะม่วงดอง
- มหาชนก เป็นลูกผสมของมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตจากอินเดีย ผลยาวรี สุกสีเหลืองเข้ม มีริ้วสีแดง เนื้อไม่เละ กลิ่นหอม จะสุกในช่วงที่มะม่วงพันธุ์อื่นวายแล้ว
ความรู้เกี่ยวกับ มะม่วง
มะม่วง เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน[1] มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)